Suan Sunandha researcher created social science research to conserve “Chanod trees” to promote “red lotus water” for reducing inequality and create sustainability for local villagers

Suan Sunandha researcher created social science research to conserve “Chanod trees” to promote “red lotus water” for reducing inequality and create sustainability for local villagers

การวิจัย

นักวิจัยสวนสุนันทา สร้างวิจัยเชิงสังคมศาสตร์เพื่ออนุรักษ์ “ต้นชะโนด” ส่งเสริม “น้ำบัวแดง” ลดความเหลื่อมล้ำ- สร้างความยั่งยืนแก่ชาวบ้านท้องถิ่น

          พื้นที่จังหวัดอุดรธานีมีความเป็นอัตลักษณ์ทั้งวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงด้านภูมิศาสตร์ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งคำชะโนดและทะเลบัวแดงที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศโดยจำเป็นต้องอาศัยประชาชนในพื้นถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลพื้นที่พร้อมยกระดับในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสามารถสร้างรายได้ด้วยตนเองทำให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูสิทธ์ ภูคำชะโนด อาจารย์ประจำแขนงวิชาการจัดการพัฒนาสังคม ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้เริ่มดำเนินการวิจัยการบริหารการพัฒนาอัตลักษณ์ “คำชะโนด” อนุรักษ์ “รุกขนาคา”เมืองอุดรธานีสู่การมีส่วนร่วมของประชาชนร้านค้าผลิตผลคนรากหญ้า อยู่ดีมี สุขลดความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืนโดยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูสิทธ์ เล่าถึงที่มาของดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้ว่ามาจากพื้นที่ของคำชะโนดซึ่งมีความเชื่อเรื่องพญานาคที่ได้รับการสืบทอดมาเป็นเวลานานมีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวซึ่งนักท่องเที่ยวมีความศรัทธาต่อเจ้าปู่ศรีสุทโธ เจ้าย่าศรีปทุมมาเข้ากราบสักการะทุกปีแต่งานวิจัยส่วนใหญ่จะเข้าไม่ถึงประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริงไม่มีงานวิจัยในมิติของคุณค่าวัฒนธรรม คติชนต่าง ๆส่วนใหญ่จะเป็นงานวิจัยเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์หรือผลกระทบจากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นบริบทรอบนอกมากกว่ารวมถึงยังไม่มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์กับ “ต้นชะโนด” หรือ “รุกขนาคา” ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ด้วย จึงได้เริ่มต้นงานวิจัยเพื่ออนุรักษ์ ซึ่งก็เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2554 และขยายพันธุ์ต้นชะโนดด้วยการผูกองค์ประกอบกับความเชื่อของประชาชนในพื้นถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน เริ่มต้นจากการทำพิธีนำเมล็ดต้นชะโนดไปเพาะพันธุ์ไว้จากนั้นจึงได้นำกลับมาปลูกในเกาะคำชะโนดอีกครั้ง พร้อมประกอบพิธีบวงสรวงซึ่งพื้นที่กลับมาปลูกนั้นก็เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อในท้องถิ่น ผู้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ทำให้ไม่ถูกรบกวนจากภายนอก ซึ่งล่าสุดในปี 2563ได้ร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ นำต้นชะโนดที่ได้รับการเพาะพันธุ์มาปลูกในเกาะคำชะโนดเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 700 ต้นทำให้ตั้งแต่เริ่มต้นงานวิจัยจนถึงปัจจุบันมีต้นชะโนดที่ได้รับการปลูกในพื้นที่เหล่านี้แล้วทั้งสิ้นกว่า 3,028 ต้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูสิทธ์ กล่าวว่นอกจากการเพาะพันธุ์ต้นชะโนดเพื่อนำมาปลูกแล้วยังได้ปรึกษาพูดคุยกับร้านค้าและประชาชนในท้องถิ่นนำของส่วนประกอบของต้นชะโนดมาประดิษฐ์เป็นบายศรีสู่ขวัญรูปพญานาคเพื่อในมาใช้ในพิธีบวงสรวงต่าง ๆเนื่องจากลักษณะใบมีเกล็ดคล้ายกับพญานาคผู้คนต่างนำใช้เพื่อมาบูชาสิ่งศักดิ์สิทธ์ในเกาะคำชะโนดและมีความสวยงามอย่างมาก โดยสิ่งที่ต้องการจะต่อยอดคืออยากจะเพาะพันธุ์ต้นชะโนดให้มากขึ้นเพื่อนำมาปลูกในพื้นที่อื่นนอกเกาะคำชะโนดให้เป็นหนึ่งในพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์พืชของท้องถิ่นได้ต่อไปขณะเดียวกันก็ได้มีงานวิจัยย่อย ลงพื้นที่ “ทะเลบัวแดง” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหนองหาน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่มีความสวยงามแต่ยังมีจุดอ่อน ด้านการรวมกลุ่มของประชาชนในท้องถิ่นเพื่อทำผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น ดังนั้นจึงได้ส่งเสริมให้ประชาชนรวมกันเป็นกลุ่มเพื่อผลิต “น้ำบัวแดง” ขึ้นมา เพราะเป็นของที่ทำได้ง่ายไม่ซับซ้อนและยังสามารถช่วยลดความกระหายแก่ผู้มาท่องเที่ยวได้อีกด้วย ซึ่งสุดท้ายก็ได้เป็นสินค้าอัตลักษณ์ของท้องถิ่นเมื่อเดินทางมาถึงทะเลบัวแดงก็จะมีน้ำบัวแดงขายนอกจากจะเป็นผลิตภัณฑ์แล้วยังเป็นส่วนหนึ่งของการบ่งบอกประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถิ่นแห่งนี้ได้อีกด้วย ทั้งนี้ จากโครงการดังกล่าวส่งผลให้เกิดการสร้างรายได้หมุนเวียนภายในชุมชนลดความเหลื่อมล้ำลงได้จากเดิมที่บ้านพักอาศัยของประชาชนเป็นบ้านไม้แต่กลับมีความเจริญมากขึ้นอย่างเห็นชัดช่วยลดความเหลื่อมล้ำสร้างความยั่งยืนทางสังคมได้มากกว่าเดิม และสิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือประชาชนทั้งในพื้นที่ของเกาะคำชะโนด และ ทะเลบัวแดงเองต่างมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนที่พัฒนาท้องถิ่นและผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของอัตลักษณ์ในสิ่งที่มีอยู่ทั้งต้นชะโนด บายศรีคำชะโนด หรือน้ำบัวแดง “สุดท้ายสิ่งที่อยากฝากคือ การทำงานวิจัยไม่ได้มีเพียงแค่วิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียวแต่ต้องมีความเข้าใจถึงอัตลักษณ์ หรือด้านสังคมศาสตร์ด้วยเพื่อให้ได้ข้อมูลในท้องถิ่นนั้นอย่างรอบด้านและลึกซึ้งที่สุดจนนำมาสู่การพัฒนาท้องถิ่นได้” ผศ.ดร.ภูสิทธ์ กล่าว ขอบคุณภาพและข้อมูล : https://www.eduzones.com/2022/01/27/ssru-329/

Suan Sunandha researcher created social science research to conserve “Chanod trees” to promote “red lotus water” for reducing inequality and create sustainability for local villagers

          In terms of culture and heritage, the province of Udon Thani is distinctive. Included in the geography are attractions such as Kham Chanod and the Red Lotus Sea, both of which are well-known throughout the country, requiring locals to contribute to the area’s preservation and improvement of the quality of life. To live a better life, they can earn money on their own. Assistant Professor Dr. Phusit Phukhamchanod, a lecturer in the Department of Social Sciences, Faculty of Humanities and Social Sciences, Suan Sunandha Rajabhat University, has begun research on the management of the development of the identity of “Kham Chanod,” conserving “Rukkanakha” in Udon Thani for the participation of grassroots people in producing shops, for well-being and happiness, and reducing inequality with the support from Science, Research, and Innovation Promotion Fund. Assistant Professor Dr. Phusit explained that the inspiration for this study originated from the Kham Chanod region, where there is a long-standing belief in the Naga and a distinct culture and tradition. At the same time, it is a tourist attraction, with visitors flocking to pay respect to Chao Pu Si Sutho and Chao Yai Sripatum every year. However, the majority of the research is out of reach for locals. In the area of cultural values, there is no research. Folklore is primarily used to beautify the landscape or the tourism impact which is a more distant context, and there is no conservation research with the “Chanod Tree” or “Rukkanaka,” which are both unique to the area. As a result, he initiated conservation research in 2011 by collecting data and reproducing the Chanod tree by tying the factors with the local people’s beliefs. Starting with the ceremony of transporting the Chanod tree seeds to be bred and then returned to Koh Kham Chanod to be planted. According to local beliefs, the space returned to be planted, along with the sacrifice ceremony, is a sacred spot. Most people are inaccessible and do not want to be disturbed by outsiders, but last year 2020 collaborated with various sectors to bring roughly 700 more Chanod trees that were bred in Koh Kham Chanod, allowing the research to continue from the beginning. A total of 3,028 trees have been planted. In addition to nurturing the Chanod tree for planting, Assistant Professor Dr. Phusit stated he talked and discussed with stores and local people about bringing the Chanod tree’s components to make a baisri for the serpent shape to be utilized in various sacrificial ceremonies. People used to revere sacred items in Koh Kham Chanod because the scaly leaves resembled those of a serpent. We wish to expand on this by breeding more Chanod trees to be placed in other regions outside of Koh Kham Chanod as a local plant conservation area. A sub-research was also conducted in the area of “Talay Bua Daeng,” which is located in Nong Han, Kumphawapi District. The province of Udon Thani is a tourist attraction with both beauty and flaws. The feature of bringing together locals to create things that are distinctive to the place. As a result, locals are encouraged to organize groups to produce “Red Lotus Juice” because it is simple to make and can also help tourists quench their thirst, and it has since become a local identity product. Red lotus juice is sold upon arrival at the Red Lotus Sea. It is not only a product, but it is also a piece of the community’s history. The initiative has resulted in the development of a revolving income within the community, reducing inequality. The people’s original residential houses were wooden houses, but the community has clearly grown richer, assisting in the reduction of inequality and being more socially resilient. What’s more, is the residents of both Koh Kham Chanod and Talay Bua Daeng are involved in every phase of the development of the community. Their products help to build a sense of ownership of the existing identity: Bai Sri Kham Chanod and red lotus juice. “Finally, what I want to leave is that research is not only science but also requires an understanding of identity,” said Asst. Prof. Dr. Phusit. “In order to obtain information in the local area as comprehensively and profoundly as possible, leading to local development.”

 

 

 

               

ที่มา : https://hs.ssru.ac.th/th/news/view/news001-01-02-2022

Source : https://hs.ssru.ac.th/en/news/view/news001-01-02-2022



ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *